วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ


ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 1. รู้หน้าที่ มีวินัย ภูมิใจในความเป็นไทย
        รู้หน้าที่ หมายถึง คนเราเกิดมาล้วนต้องมีหน้าที่ของตน และคนๆ หนึ่งก็มีหลายหน้าที่
จะต้องทำ เช่น หน้าที่ของลูก หน้าที่ของนักเรียน หน้าที่ของเพื่อน ฯลฯ ซึ่งเราต้องทำเพื่อ
ประโยชน์ของเราและผู้เกี่ยวข้อง
        มีวินัย หมายถึง ความสำเร็จ การวางระเบียบสำหรับตนเองเพื่อฝึกฝนการดำเนินชีวิต
ให้ได้ผลดี
        ภูมิใจในความเป็นไทย เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย คือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทย
ได้อย่างดีที่สุดเพราะประเทศไทยนั้นได้ชือว่าเป็นประเทศ เอกลักษณ์เป็นของตัวเองชาติหนึ่ง
ของโลกมีอักขระ ตัวอักษรที่เป็นเฉพาะของตัวเอง พร้อมกับกระแต่งกายแบบฉบับไทยที่มี
รูปแบบลวดลายที่สวยงามอ่อนช้อย นอกจากความสวยงามที่ไม่เหมือนใครของเครื่องแต่งกาย
แล้วนั้น ความสวยที่สื่อออกมาจากตัวตนแห่งคนไทย ก็คือ การไหว้


ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 2. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
        ความรักชาติ หมายถึง การมีความรักไทย นิยมไทย สำนึก และภูมิใจในความเป็นคนไทย
มีความผูกพันหวงแหนมาตุภูมิ มุ่งมั่นส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศ
รวมทั้งการรักเกียรติภูมิของชาติ
        ความรักสถาบันศาสนา หมายถึง การมีความรัก ความภาคภูมิใจ ความศรัทธา ในศาสนา
ที่ตนนับถือ รู้แก่นแท้ของศาสนา และยึดถือเป็นแนวทางในการประพฤติตนเพื่อพร้อมที่จะดำรงไว้
ซึ่งสถาบันศาสนา
          ความรักสถาบันพระมหากษัตริย์ หมายถึง การมีความจงรักภักดี และศรัทธาใน
พระมหากษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ


ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 3. ซื่อสัตย์ สุจริต
        ซื่อสัตย์ หมายถึง แง่มุมหนึ่งของ ศีลธรรม แสดงถึงลักษณะของคุณธรรมในแง่บวก อาทิ
บูรณภาพ ความจริงใจ และความตรงไปตรงมา พร้อมด้วยการงดเว้นการโกหก การคดโกง หรือ
การลักขโมย เพราะหาก ไม่งดเว้น ก็จะกลายเป็นการเสแสร้งแกล้งทำเพียงเท่านั้น
         สุจริต หมายถึง การประพฤติชอบ ประพฤติดี ส่งผลให้ผู้ประพฤติประสบกับสิ่งที่ดี เช่น
ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน พูดความจริง พูดจาไพเราะ ปรารถนาดีต่อผู้อื่น เป็นต้น


ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 4. พอเพียง เสียสละ มีน้ำใจ
        พอเพียง หมายถึง มีกินมีอยู่ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่หรูหราก็ได้ แต่ว่าพอแม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย แต่ถ้าทำให้มีความสุข ถ้าทำได้ก็สมควรที่จะทำ สมควรที่จะปฏิบัติ
        เสียสละ คือ คุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนในสังคมต้องมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเสียสละแบ่งปันให้แก่กัน ไม่มีจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว ความเสียสละจึงเป็นคุณธรรม
เครื่องผูกมิตรไมตรี ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะนิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุขส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัว
        มีน้ำใจ หมายถึง การอยู่ร่วมกันในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน
จึงจะอยู่กันได้อย่างสันติสุขความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้ โดยไม่ต้องใช้เงินทองมากมาย
เพียงแต่แสดงความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ เช่นการพาเด็กหรือผู้สูงอายุข้ามถนน หรือการสละที่นั่งบนรถโดยสารให้หญิงมีครรภ์ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจการแสดงความมีน้ำใจจึงไม่ใช่วัดกันด้วยเงิน บางคนมีเงินมากอาจแล้งน้ำใจก็ได้ บางคนเป็นเศรษฐีแต่ตระหนี่ถี่เหนี่ยว ไม่ยอมสละเงินโดยไม่รับผลประโยชน์ตอบแทน



ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 5. ปฏิบัติตามคุณธรรมทางศาสนา
        บุคคลที่ประพฤติปฏิบัติตนในฐานะพุทธศาสนิกชนที่ดี โดยละเว้นต่อการประพฤติชั่ว
และไม่ลุ่มหลงอบายมุข เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมโดยได้เป็นรองนายก
เหล่ากาชาดจังหวัดยโสธร พร้อมทั้งเสียสละแรงกายในฐานะกรรมการ และกำลังทรัพย์เพื่อ
ช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ตกทุกข์ ซึ่งบ่งบอกถึงมีความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารีต่อบุคคลอื่น
โดยทั่วไป มีความซื่อสัตย์ สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งจะสังเกตเห็นได้จากการรักษาคำมั่นสัญญา
ที่ให้กับผู้บังคับบัญชาผู้ใต้บังคับบัญชา และเครือข่ายองค์กรอื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น